Design
0
mins

ชวนมารู้จักขั้นตอนของวิธีการสร้างต้นแบบมีกี่ขั้นตอน? ประโยชน์การทำ Prototyping ดีอย่างไร?

ชวนมารู้จักขั้นตอนของวิธีการสร้างต้นแบบมีกี่ขั้นตอน? ประโยชน์การทำ Prototyping ดีอย่างไร?
ชวนมารู้จักขั้นตอนของวิธีการสร้างต้นแบบมีกี่ขั้นตอน? ประโยชน์การทำ Prototyping ดีอย่างไร?

การสร้างต้นแบบ Prototyping คืออะไร?

Prototyping หรือ การสร้างต้นแบบ คือการทดสอบการทำงานของระบบ เพื่อให้สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว โดยการสร้างแบบจำลอง (Model) ต้นแบบการทำงานของระบบนั้นขึ้นมาใหม่ ให้เกิดการโต้ตอบ และ กระบวนการทำซ้ำของประโยคคำสั่ง ที่เรียกว่า การวนรอบ (Interactive) โดยนักวิเคราะห์ระบบสามารถทำงานและพัฒนาได้ง่าย รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะงานหรือโปรเจกซ์ที่มีควา่มต้องการของผู้ใช้งานจริงซับซ้อน ยากเกินกว่าจะเข้าใจ แต่การสร้างต้นแบบขึ้นมา สามารถช่วยให้มองเห็นปัญหา ความต้องการ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ทำไมต้องสร้าง Prototype?

Prototype คือ การดัดแปลงแบบร่าง หรือ ไอเดีย ให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างรวดเร็วที่สุด สามารถนำต้นแบบนี้ ไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย ผู้ใช้งานจริง หรือลูกค้าโดยตรง เพื่อลดต้นทุนในการลองผิดลองถูก แต่มุ่งเน้นให้เห็นถึงปัญหา หรือสิ่งที่สร้างขึ้นตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ตรงจุดประสงค์หรือไม่ เก็บ FeedBack กลับมาพัฒนา และจะได้สินค้า หรือบริการที่ออกแบบมาตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าโดยตรง ได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ ข้อดีของการสร้าง Prototype คือ

  • ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ จุดผิดพลาดของสินค้า หรือ บริการได้อย่างรวดเร็ว
  • ลดความเสี่ยงเมื่อทำสินค้า หรือบริการ ออกมาแล้วจะไม่มีลูกค้าใช้งานจริง เพราะเราได้ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว
  • ลดต้นทุนการผลิตสินค้า หรือบริการ
  • สามารถรู้ถึงจุดอ่อนของสินค้า และบริการ นำไปพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเภทของการสร้างต้นแบบ Prototyping

ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ prototyping แบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

  1. ตัวต้นแบบชนิดปะติดปะต่อ 

ตัวต้นแบบชนิดปะติดปะต่อ หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า Patched-Up Prototype คือ ต้นแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาทีละส่วน และ นำส่วนต่าง ๆ มาปะติดปะต่อกัน ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งระบบได้ ว่าแต่ละส่วนนั้นทำงานเป็นอย่างไร สามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง

  1. ตัวต้นแบบที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง

ตัวต้นแบบที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า Non Operational Prototype คือ ต้นแบบที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบผลกระทบของสินค้า หรือ บริการ โดยการทำต้นแบบจำลองนี้ขึ้นมา จะทำในรูปแบบการเขียนรหัสโปรแกรมขึ้นมา แต่เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้งานจะเห็นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ในส่วนการประมวลผลลัพธ์ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้

  1. ตัวต้นแบบที่ใช้ได้เพียงส่วนเดียว

ตัวต้นแบบที่ใช้ได้เพียงส่วนเดียว หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า First Of A Series Prototype คือ ต้นแบบที่เหมือนตัวนำทางให้ผู้ใช้งาน สามารถมองเห็นปัญหาและผลกระทบต่าง ๆ เพื่อให้ระบบจริงที่ออกมาใช้งาน มีผลกระทบน้อยที่สุด 

  1. ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน

ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน หรือ ที่เรียกว่าอย่างว่า Select Features Prototype คือ การสร้างต้นแบบที่มีความซับซ้อน ขึ้นมาบางส่วน เพื่อทำการทดสอบ และพัฒนา ไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ต้นแบบสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ prototyping มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?

ขั้นตอนของการสร้างต้นแบบมี 4 ขั้นตอน ได้แก่

  1. กำหนดความต้องการ

คือ การมองหาความต้องการพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย ผู้ใช้ระบบ ซึ่งขั้นตอนนี้นักออกแบบระบบจะต้องใช้เวลาในการหาข้อมูลอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำตรงตามความต้องการของผู้ใช้

  1. ออกแบบต้นแบบ

คือ นักพัฒนาระบบสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ถนัด ในการออกแบบ เพื่อให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น

  1. นำต้นแบบไปใช้งาน

คือ การนำต้นแบบไปให้กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ระบบทดลองใช้งานจริง เพื่อดูว่าต้นแบบสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างไรบ้าง โดยสามารถให้ผู้ทดสอบสามารถออกความคิดเห็นหลังจากใช้งานจริง เพื่อเก็บเป็นข้อมูลกลับมาปรับปรุงและพัฒนาระบบต่อไป

  1. ปรับแต่งต้นแบบ

คือ การนำความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริงหลังจากทดสอบการใช้งานของระบบแล้ว นำมาปรับปรุงแก้ไขต้นแบบให้มีประสิทธิภาพ พร้อมใช้งานได้จริง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะต้องเกิดการทำซ้ำวนไปวนมา เพื่อให้ตรงต่อความพอใจของกลุ่มผู้ทดสอบใช้งาน

เครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการพัฒนาต้นแบบมีอะไรบ้าง?

เครื่องมือในการพัฒนาต้นแบบ หรือ Prototyping Tools คือ เครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานของนักพัฒนาให้สะดวกมากขึ้น โดยสามารถแบ่งเครื่องมือที่จำเป็นออกมาได้ ดังนี้

  • CASE Tools หรือ Computer Aided Software Engineering คือ เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนโปรแกรม หัวข้อต่าง ๆ ที่ต้องการได้
  • Report Generators หรือ Report Writer คือ เครื่องมือตัวช่วยเขียนรายงาน สำหรับการออกแบบในรูปแบบรายงาน
  • Screen Generators หรือ Forms Generator คือ เครื่องมือสร้างภาพหน้าจอ และจัดการข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการป้อนข้อมูล ควบคุมจอภาพ ที่สามารถมองเห็นได้
  • Application Generators หรือ Code Generator คือ ตัวสร้างชุดคำสั่งระบบประยุกต์ ที่ช่วยพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว
  • Fourth Generation Languages (4GLs) คือ ภาษายุคที่สี่ กระตุ้นให้ผู้ใช้สามารถกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ

ประโยชน์ของการทำ Prototyping

จากที่กล่าวมาข้างต้น ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ Prototyping นั้นมีทั้งหมด 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ กำหนดความต้องการ , ออกแบบต้นแบบ, นำต้นแบบไปใช้งาน, ปรับแต่งต้นแบบ, ซึ่งการทำ Prototyping มีประโยชน์ ดังนี้

  • ลดต้นทุนการผลิตสินค้า หรือระบบลงได้ ไม่ต้องลองผิดลองถูก
  • ช่วยลดปัญหาความไม่เข้าใจของผู้พัฒนา และ ผู้ใช้งานจริง เพราะ ผู้พัฒนากับผู้ใช้งานจะมองเห็นความต้องการแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน การทำ Prototyping จะช่วยให้มองเห็นความต้องการ ตรงกันมากขึ้น
  • นักพัฒนาสามารถสร้างข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการสร้างระบบที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างแม่นยำ และ ตรงจุด
  • สามารถประเมินต้นแบบจำลองที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มองเห็นจุดบกพร่องได้อย่างชัดเจน
  • สามารถใช้ต้นแบบจำลองที่ทดสอบกับผู้ใช้งาน นำมาพัฒนาให้สมบูรณ์มากขึ้น ก่อนจะสร้างระบบจริงเสร็จสมบูรณ์
  • การสร้างต้นแบบ ช่วยลดความเสี่ยงความล้มเหลวในการพัฒนาระบบได้

สนใจปรึกษาบริการ  Prototyping รวมถึงบริการอื่นๆ ของ Criclabs ต้องทำอย่างไร?

หากคุณสนใจปรึกษา ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ  Prototyping แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี หรือทำเว็บเกี่ยวกับอะไรดี Criclabs มีความเชี่ยวชาญในบริการ Prototyping และ ทำเว็บไซต์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจของคุณ มียอดขายโดยเฉพาะ ที่รวมความเชี่ยวชาญด้าน Software Development , ซอฟต์แวร์ Website หรือ Application อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงสร้าง Impact ให้กับธุรกิจของคุณ และคอยแนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ ช่องทางการติดต่อ Criclabs 

บริการอื่น ๆ ของ Criclabs

Criclabs เป็น Software House ที่มีความเชี่ยวชาญในดิจิทัล แบบ End-To-End ให้คำแนะนำจนถึงการดูแลองค์รวม ไม่ว่าจะเป็น บริการรับทำ Wireframing รับออกแบบ Wireframe แอป เว็บไซต์ รับทำ web development โครงร่างเว็บ ออกแบบและปรับแต่งเว็บไซต์เต็มรูปแบบ, รับพัฒนา web application, บริการสร้างระบบเชื่อมต่อ API, รับศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้ใช้ User Research, รับทำ QA Design ตรวจสอบดีไซน์เว็บ รวมถึงรับวางกลยุทธ์ให้แบรนด์สินค้า ,บริการทำ SEO เพื่อสร้างยอดขาย และ บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ Prototyping อีกด้วย